วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 006

 ผลการเรียนรู้ ครั้งที่6



วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

                 การเรียนการสอนได้ทำการเรียนในห้องเรียน ซึ่งในสัปดาห์ก่อนหน้านี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาโครงงานที่เราจะทำหรือโครงงาน(งานกลุ่ม)และคาบเรียนได้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนและได้ทดสอบโดยใช้ kahoot อาจารย์ได้สอนคู่มือ และการใช้งานบน smp.yru.ac.th เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ในการทำโครงงาน หรือนำความรู้นั้นต่อยอดในการทำโครงงาน

                 การออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

การออกแบบอีเลิร์นนิงเริ่มจากการออกแบบการเรียนการสอน  การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model และการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง

            การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)

ความหมายของการออกแบบ เป็นการถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่ใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีการใช้การออกแบบในทุก ๆ ด้าน เช่นการออกแบบสินค้า การออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการออกแบบการเรียนการสอน

การออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียน  เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนอย่างดีจะสามารถใช้ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถของตนเอง ในการคิด การเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน และกิจกรรมการเรียน ทำให้คุณภาพของการเรียนการสอนต่างกันไปตามความสามารถของผู้สอนแต่ละคน การออกแบบการเรียนการสอนจะเป็นแนวทางที่ผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการสอนของตนได้

การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ

 การออกแบบการเรียนการสอน: แบบจำลอง ADDIE

รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบของผังแสดงลำดับการทำงาน (Flowchart) เพื่อแสดงรูปแบบให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) โดยรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอนแบบจำลอง ADDIE 

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 005

 ผลการเรียนรู้ ครั้งที่5

      วันพุธ ที่ 21 กรกฎาคม 2564 ตรงกับวันวันอีฎิ้ลอัดฮา เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติตามศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป 
       



ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 004

 ผลการเรียนรู้ ครั้งที่4



            นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ โดยกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจนสามารถวัดและประเมินผล ได้การจัดการเรียนการสอนยึดตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้รวมถึงหลักจิตวิทยาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการถ่ายโอนกลยุทธ์การสอน เน้นการใช้เทคโนโลยสีารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันมักหมายถึงการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน              การจัดองค์ประกอบดั้งนี้
  1. ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)
ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้ององค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงานและทำให้แผนทั้งหมดดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมินและตรวจสอบกระบวนการต่างๆในระบบ และนำแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดีและไม่หยุดชะงัก
2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชาวางแผนการสอนให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบทมีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูลช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นต้นผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียนพร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงานเพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
4. วัดผลการเรียน (Evaluation)
งานที่อาจารย์มอบหมายหรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไปจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์จากสถาบันใดถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านเพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 003

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่3


        วันที่8กรกฎาคม254
1.ทบทวนเนื้อหาบทที่ 1 ระบบการจัดการเรียนรู้ออลไลน์
2.ทำแบบทดสอบก่อนเรียน บทที่2 ระบบการจัดการเรียนรู้ออลไลน์
3.ทบทวนบทเรียน บทที่1โดยใช้ kahoot เพื่อสะสมแต้มในการเล่นเกม
4.เข้าเรียนโดยใช้ zoomในการศึกษา


      ระบบการจัดการเรียนรู้ออลไลน์
      การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism การเรียนการสอนเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองมากกว่าที่จะเป็นผู้บอกเล่าให้นักเรียนจดจำ
      เงื่อนไขของ Constructivism
      1.การเรียนรู้เป็น Active Process ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล การสอนโดยวิธีบอกเล่าเป็นแบบ Passive Process ไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวคิดหลักมากนัก
      2.ความรู้ต่างๆ จะถูกสร้างขึ้นด้วยตัวของนักเรียนเอง โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่กับข้อมูลเก่าหรือความรู้ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ มาเป็นเกณฑ์ช่วยในการตัดสินใจ
     3.ความรู้และความเชื่อของแต่ละคนจะต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็น ซึ่งจะถูกใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และใช้เป็นข้อมูลในการสร้างแนวคิดใหม่
     4.ความเข้าใจจะแตกต่างจากความเชื่อโดยสิ้นเชิง และความเชื่อจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างแนวคิดหรือการเรียนรู้


วันสำคัญของศาสนาอิสลาม

 วันสำคัญของศาสนาอิสลามการประกอบพิธีฮัจญ์                พิธีฮัจญ์ จะทำในเดือน ซุล-ฮิจยะห์ (เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช) ของแต่ละปี การ...